top of page

บทที่ 4 การเขียนแบบวงจรไฟฟ้า

วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจกฎและทฤษฎีวงจรไฟฟ้ากระแสตรง

  2. มีทักษะในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง

  3. มีทักษะในการประกอบวงจร และใช้เครื่องมือวัดและทดสอบวงจรไฟฟ้ากระแสตรง

  4. มีกิจนิสัยในการปฏิบัติงานด้านความละเอียดรอบคอบ ถูกต้องและปลอดภัย

4.1 วงจรการต่อความต้านทาน

           การต่อตัวต้านทาน  เป็นการนำตัวต้านทานหลายๆตัวมาต่อกันเป็นวงจร เพื่อให้ได้ค่าความต้านทานที่ต้องการและเหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์ต่อ ๆไป โดยการต่อตัวต้านทานจะมีประเภทหลักๆดังนี้

4.1.1 วงจรการต่อความต้านทานแบบอนุกรม

            การต่อตัวต้านแทนแบบอนุกรม คือ การเอาตัวต้านทานมาต่อกัน ในลักษณะ หางต่อหัวอีกตัว จะได้ลักษณะยาวเป็นขบวนรถไฟความต้านทานรวมจะได้เป็นตามสมการ

Rรวม = R1 + R2 + … + Rn

สกรีนช็อต 2022-09-21 094523.png

สมบัติของการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม

  • กระแสไฟฟ้า (I) ที่ไหลผ่านตัวต้านทานทุกตัวนั้นเท่ากัน

         กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานตัวที่ 1 = กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานตัวที่ 2 = กระแสไฟฟ้า
ที่ผ่านตัวต้านทานทุกตัว = กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานรวม

I1 = I2 = … = It

สกรีนช็อต 2022-09-21 103216.png
  • ความต่างศักย์ไฟฟ้ารวม เท่ากับผลรวมของความต่างศักย์ย่อย

         ศักย์ไฟฟ้ารวม = ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่ 1= ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่ 2 = ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานทุกตัว

Vt = V1 + V2 + … + Vn

สกรีนช็อต 2022-09-21 095849.png

4.1.2 วงจรการต่อความต้านทานแบบขนา

            การต่อตัวต้านทานแบบขนานคือการนำตัวต้านทานมาต่อกันเป็นลักษณะหัวต่อหัว หางต่อหาง จะคล้ายกับการทับกันเป็นตึกหลายๆชั้น  

 

ความต้านทานรวมจะได้เป็นตามสมการ

1/Rรวม = 1/R1+ 1/R2 + … + 1/Rn

สกรีนช็อต 2022-09-21 114653.png

สมบัติของการต่อตัวต้านทานแบบขนาน

       ความต่างศักย์ ที่ตกคร่อมตัวต้านทานทุกตัวจะเท่ากัน

ศักย์ไฟฟ้ารวม = ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่ 1 = ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่ 2 = ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานทุกตัว

Vt = V1 = V2 = … = Vn

สกรีนช็อต 2022-09-21 131048.png

      กระแสไฟฟ้ารวมเท่ากับผลรวมของกระแสไฟฟ้าย่อย

 กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานรวม = กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานตัวที่ 1 =  กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน

ตัวที่ 2 =  กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทานทุกตัว 

It = I1 + I2 + … +In

สกรีนช็อต 2022-09-21 131532.png

ตัวอย่าง  ตัวต้านทานสามตัว แต่ละตัวมีความต้านทาน 1 โอห์ม ถ้านำตัวต้านทานทั้งสามมาต่อกันแบบผสม จะได้ความ     ต้านทานสมมูลเท่าใดบ้าง
 

               จากโจทย์เป็นการต่อตัวต้านทานแบบผสมซึ่งจะเห็นว่ามีการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมกันทั้งหมด 2 ตัวด้านบน ให้เราคิดความต้านทานสมมูลของการต่ออนุกรมก่อนโดยสูตรการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม คือ

Rรวม = R1 + R+ … + Rn

จะได้ว่า

Rรวม = 1 + 1  = 2  Ω

สกรีนช็อต 2022-09-21 191311.png

        จากนั้นเมื่อเราหาค่าตัวต้านทานสมมูลของตัวต้านทานแบบอนุกรมแล้ว จะสามารถยุบเป็นตัวต้านทานขนาด 2 Ω ได้ จากนั้นเราจะเห็นว่าเป็นการต่อตัวต้านทานแบบขนานกันทั้งหมด 2 ตัวโดยสูตรการต่อตัวต้านทานแบบขนาน คือ

1/Rรวม = 1/R1+ 1/R2 + … + 1/Rn

จะได้ว่า 

            1/Rรวม = 1/1+ 1/2  = 3/2

               Rรวม = 2 / 3 Ω

สกรีนช็อต 2022-09-21 192031.png

ตัวอย่าง  ตัวต้านทานสามตัว แต่ละตัวมีความต้านทาน 1 โอห์ม ถ้านำตัวต้านทานทั้งสามมาต่อกันแบบผสม จะได้ความต้านทานสมมูลเท่าใดบ้าง

             จากโจทย์เป็นการต่อตัวต้านทานแบบผสมซึ่งจะเห็นว่ามีการต่อตัวต้านทานแบบขนานกันทั้งหมด 2 ตัวด้าน  บน ให้เราคิดความต้านทานสมมูลของการต่อขนานก่อนโดยสูตรการต่อตัวต้านทานแบบขนาน คือ

                         1/Rรวม = 1/R1+ 1/R2 + … + 1/Rn

จะได้ว่า 

                          1/Rรวม = 1/1+ 1/1 
                          1/R
รวม = 2/1

                             Rรวม = 1 / 2 Ω

สกรีนช็อต 2022-09-21 192940.png

            จากนั้นเมื่อเราหาค่าตัวต้านทานสมมูลของตัวต้านทานแบบขนานแล้ว จะสามารถยุบเป็นตัวต้านทานขนาด 1/2 Ω ได้ จากนั้นเราจะเห็นว่าเป็นการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมกันทั้งหมด 2 ตัวโดยสูตรการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมคือ
 

                                  Rรวม = R1 + R2 + … + Rn

                            จะได้ว่า

                                  Rรวม = 1 + 1/2  = 3/2 = 1.5 Ω

สกรีนช็อต 2022-09-21 193252.png
bottom of page