top of page

บทที่ 5 การเขียนแบบตาม ชนิดของแบบทางไฟฟ้า
 

จุดประสงค์
 

1. รู้ความหมายของการเขียนแบบตาม ชนิดของแบบทางไฟฟ้า

2. รู้สัญลักษณ์ของการเขียนแบบตาม ชนิดของแบบทางไฟฟ้า

3. เข้าใจของการเขียนแบบตาม ชนิดของแบบทางไฟฟ้า

แบบไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

        1. แบบงานจริง (Pictorial) หมายถึงแบบที่มีลักษณะเหมือนงานจริง แสดงให้เห็นตามลักษณะภายนอกของการติดตั้งไฟฟ้า ทุกประการ แบบที่เขียนเป็นรูปแบบลักษณะเหมือนอุปกรณ์จริงที่ติดตั้ง ตามลักษณะภายนอกที่ตามองเห็นทุก ประการ ทั้งอุปกรณ์และจุดที่ติดตั้ง ดังภาพด้านล่าง

สกรีนช็อต 2022-09-22 012152.png

รูปที่ 1.แบบงานจริง (Pictorial)

          2. แบบไดอะแกรมแผนผัง ( Schematic diagram) หมายถึงแบบที่มีลักษณะที่เน้นการแสดงให้เห็นถึงวงจรภายในของงาน ว่าต่อกันอย่างไร แสดง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าไปตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อกันอยู่ในแบบนั้น โดยมีจุดประสงค์ให้เห็นหรือทราบการ ต่อวงจรภายในของระบบนั้นๆ ให้ผู้ที่ไม่ทราบได้รู้ เพื่อต่อหรือซ่อมแซมวงจรได้ถูกต้องตามที่ผู้ออกแบบได้ ออกแบบไว้ ดังภาพด้านล่าง

schematic1.jpg

รูปที่ 2.แสดงวงจรไดอะแกรมแผนผัง ของวงจรไฟฟ้า (Schematic diagram)

          3. แบบไดอะแกรมเส้นเดียว (One line diagram) หมายถึงแบบที่มีลักษณะคล้ายแบบงานจริง แต่จะเขียนเส้นเพียงเส้นเดียวแทนสายไฟ มี จุดประสงค์เพื่อให้ทราบต าแหน่งที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้น ส่วนอุปกรณ์จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ดัง ภาพด้านล่าง

one line1.jpg

รูปที่ 3.แสดงแบบวงจรไฟฟ้า แบบไดอะแกรมเส้นเดียว ของวงจรไฟฟ้า ตามรูปที่ 1.

         4. แบบไดอะแกรมวงจรไฟฟ้า (Wiring diagram) หมายถึงแบบที่มีลักษณะรวมจุดประสงค์ทั้งหมดของแบบทางไฟฟ้า ทั้งต าแหน่งที่ติดตั้ง และการ ต่อวงจรของวงจรไฟฟ้า แต่จะแทนอุปกรณ์ของจริงด้วยสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ดังภาพด้านล่าง

wiring1.jpg

รูปที่ 4. แสดงแบบวงจรไฟฟ้า (Wiring Diagram)

ชนิดของแบบทางไฟฟ้า

         ในงานระบบติดตั้งไฟฟ้า เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ออกแบบระบบไฟฟ้ากับผู้ติดตั้งหรือ บุคคลทั่วไป จำเป็นต้องมีมาตรฐานเดียวกัน จึงกำหนดใช้สัญลักษณ์แทนอุปกรณ์จริงโดยการเขียนแบบไฟฟ้า ซึ่งการเขียนแบบได้ 3 ประเภท คือ

สกรีนช็อต 2022-09-22 013830.png

ไดอะแกรมเส้นเดียว
        ไดอะแกรมเส้นเดียวควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างมาตรฐาน ANSI

images.jpg

 รูปที่ 5. แสดงแบบไดอะแกรมเส้นเดียวควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างมาตรฐาน ANSI

อักษรย่อที่ใช้กำกับสายในงานเขียนแบบไฟฟ้ามาตรฐาน DIN และมาตรฐาน ANSI กำหนดไว้ ดังนี้
              R และ L หมายถึง สายเฟส (Line) เป็นสายที่มีไฟ
              Mp และ N หมายถึง สายศูนย์ (Neutral) เป็นสายที่ไม่มีไฟ
              SL และ PE หมายถึง สายดิน (Protective Earth) เป็นสายนิรภัยที่ต่อลงดิน ป้องกันอันตรายเนื่องจาก ไฟรั่ว

จากไดอะแกรมเส้นเดียว จากรูปที่ 5 ควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างมาตรฐาน ANSI เขียนเป็นงานจริง

สกรีนช็อต 2022-09-22 014641.png

รูปที่ 6. แบบงานจริง

ไดอะแกรมเส้นเดียวควบคุมไฟฟ้าแสงสว่างมาตรฐาน DIN

ดาวน์โหลด.jpg

รูปที่ 7. ไดอะแกรมเส้นเดียวควบคุมไฟฟ้าแสงสว่าง

bottom of page