บทที่ 6 การเขียนแบบติดตั้ง ไฟฟ้าในอาคาร
จุดประสงค์
1. รู้จักวงจรเต้ารับ และวงจรแสงสว่าง
2. บอกองค์ประกอบของแบบในระบบไฟฟ้าแสงสว่างได้
3. อ่านแบบในระบบไฟฟ้าแสงสว่างได้
วงจรเต้ารับ
วงจรเต้ารับ หมายถึง วงจรที่ใช้ประกอบเพื่อควบคุมเต้ารับ อัน ประกอบไปด้วย สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ(เซอร์กิตเบรกเกอร์) สายตัวน า และเต้ารับ ในแบบของวงจรเต้ารับจะต้องระบุ พิกัดกระแส ของสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ ขนาดและชนิดของ สายตัวนำและชนิดของเต้ารับด้วย ดังรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.1 ตัวอย่างวงจรเต้ารับ 1 วงจรย่อยจำนวน 5 จุด
จากรูปด้านบน แสดงวงจรเต้ารับ ซึ่งกำหนดว่าวงจรเต้ารับนี้มีเต้ารับขนาดตัวละ 150 วัตต์ จำนวน 5 ตัว ควบคุมด้วยสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ ขนาด 10 แอมแปร์ สายเดินวงจรเต้ารับขนาด 2.5 mm2 ตามกฎของการไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า สำหรับเต้ารับ 1 วงจรย่อยจะมีเต้ารับ ได้ไม่เกิน 10 จุด และแต่ละหนึ่งวงจรย่อยใช้ไฟได้ไม่เกิน 10 แอมแปร์
วงจรแสงสว่าง
วงจรแสงสว่าง หมายถึง วงจรที่ใช้ประกอบเพื่อ ควบคุมแสงสว่างอันประกอบไปด้วย สวิตช์ตัดตอน อัตโนมัติ สายตัวนำสวิตช์ไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้า ดังนั้นในแบบของวงจรแสงสว่างจึงต้องระบุพิกัดของ สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ ขนาดและชนิดของสายตัวนำสวิตซ์ และชนิดของหลอดไฟฟ้าด้วย ดังรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.2 ตัวอย่างวงจรแสงสว่าง 1 วงจรย่อยจำนวน 6 จุด
ตามข้อกำหนดของการไฟฟ้านครหลวงระบุว่า สำหรับวงจรแสงสว่าง 1 วงจรย่อย จะ มีหลอดไฟฟ้ารวมได้ไม่เกิน 10 จุด และแต่ละหนึ่งวงจรย่อยไม่เกิน 10 แอมแปร์จากรูปแสดง งวงจรแสงสว่าง 1 วงจรย่อยจำนวน 6 จุด สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ ขนาด 5 แอมแปร์ 1 ตัว
แบบไฟฟ้า
แบบไฟฟ้า (Electrical Planning) เป็นผังกำหนดรายละเอียดของตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โคมไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า เต้ารับเครื่องซักผ้า เตาอบ เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯ แบบไฟฟ้านับว่ามีความสำคัญมาก ช่าง ไฟฟ้าจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงองค์ประกอบของแบบไฟฟ้าและสามารถอ่านแบบไฟฟ้าเข้าใจ เพื่อจะวางแผนการดำเนินการในการจัดหาของและการติดตั้งไฟฟ้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ พิจารณาแบบไฟฟ้าของห้องนอนห้องหนึ่งขนาด 4 เมตร ×7 เมตร มีการติดตั้งวงจรแสงสว่าง 1 วงจรย่อย ประกอบไปด้วยสวิตซ์ Sa ควบคุมหลอดไฟฟ้า a และสวิตซ์ Sb ควบคุมหลอด ไฟฟ้า b โดยใช้สายตัวนำชนิด VAF ขนาด 2 แกน × 2.5 mm2 แบบไฟฟ้าแสดงในรูปที่ 2.3

รูปที่ 2.3 แบบไฟฟ้าของห้องนอน ขนาด 4 เมตร ×7 เมตร
ตัวอย่างแบบไฟฟ้าที่ซับซ้อนขึ้นดังรูปที่ 2.4 เป็นแบบไฟฟ้าของห้องขนาด 4 เมตร ×7 เมตร ภายในอาคารพักอาศัยแห่งหนึ่ง ประกอบไปด้วย 2 วงจรย่อย คือ วงจรย่อยที่ 1 (1/LP1) เป็นวงจรแสงสว่าง ประกอบด้วยสวิตช์Sa และ Sb ควบคุม หลอดไฟฟ้า a และ b สวิตช์S ควบคุมหลอดภายในห้องน้ า ใช้สาย VAF 2 แกน × 2.5 mm2 วงจรย่อยที่ 2 (2/LP1) เป็นวงจรเต้ารับ ประกอบ ไปด้วยเต้ารับ 3 ตัว ใช้สาย VAF2 แกน × 2.5 mm2 เช่นเดียวกัน


รูปที่ 2.4 แบบไฟฟ้าที่มี 2 วงจรย่อย
จากแบบไฟฟ้าด้านบน เมื่อน ามาเขียนไดอะแกรมเส้นเดียว (One Line Diagram) จะ ได้ดังรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 ไดอะแกรมเส้นเดียวของแบบไฟฟ้าในรูปที่ 2.4
และเมื่อเขียนไดอะแกรมเส้นเดียว ของวงจรเต้ารับและวงจรแสงสว่างได้ดังรูปที่ 2.6

รูปที่ 2.6 ไดอะแกรมเส้นเดียวของวงจรเต้ารับจากแบบไฟฟ้าในรูปที่ 2.4
ตัวอย่างของแบบไฟฟ้าที่สมบูรณ์ คือแบบไฟฟ้าของบ้านที่พักอาศัย 2 ชั้น ซึ่งจัดทำโดยการเคหะแห่งชาติ ซึ่งส่วนประกอบของแบบไฟฟ้าอย่างน้อยควรมี 3 ส่วน คือ
1. ไดอะแกรมการเดินสาย
2. ไดอะแกรมเส้นเดียว
3. รายละเอียดวงจรแผงจ่าย
ไดอะแกรมการเดินสาย (Wiring Diagram)
ไดอะแกรมการเดินสาย (Wiring Diagram) หมายถึง ไดอะแกรมที่แสดงให้เห็นตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ห้องต่างๆ ภายในอาคารหรือภายในโรงงาน และตำแหน่งการเชื่อมโยงสายไฟฟ้าภายในอาคาร ไดอะแกรมการเดินสายนี้จะทำให้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและเจ้าของงานเข้าใจลักษณะ ของระบบไฟฟ้าที่จะดำเนินการติดตั้งตามแผนที่กำหนดในแบบไฟฟ้านี้มีความเข้าใจ ตรงกัน ดังแสดงในรูปที่ 2.7 (ก) และ 2.8 (ข)

รูปที่ 2.7 (ก) แบบไฟฟ้าชั้นล่างของบ้านพักอาศัย 2 ชั้น

รูปที่ 2.7 (ข)แบบไฟฟ้าชั้นบนของบ้านพักอาศัย 2 ชั้น
ไดอะแกรมเส้นเดียว (Single Line Diagram)
ไดอะแกรมเส้นเดียว (Single Line Diagram) ไดอะแกรมเส้นเดียว หมายถึงไดอะแกรมแสดรายละเอียดของวงจร และการต่อ วงจรไฟฟ้าภายในวงจรแผงจ่าย (Panel Circuit) ภายในไดอะแกรมเส้นเดียวจะประกอบ ไปด้วยเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (Meter) เมนสวิตซ์ (Main Switch) ขนาดของสายไฟฟ้าที่จะ เข้าวงจรแผงจ่าย ตัดตอนอัตโนมัติที่แยกอยู่ภายในวงจรแผงจ่าย และสาขาย่อยของวงจร แผงจ่ายว่า แยกเป็นวงจรย่อยจำนวนเท่าไร แต่ละวงจรควบคุมโหลดไฟฟ้าอะไรบ้าง รวมทั้งขนาดของตัดตอนอัตโนมัติแต่ละวงจรมีขนาดเท่าไร และมีวงจรย่อยสำรอง (Spare) ไว้จำนวนมากน้อยเท่าใด ลักษณะของไดอะแกรมเส้นเดียวของบ้านหลังนี้แสดง ในรูป 2.8

รูปที่ 2.8 แสดงไดอะแกรมเส้นเดียวของแบบไฟฟ้าสำหรับบ้านักอาศัย 2 ชั้น
รายละเอียดวงจรแผงจ่าย (Panel Board Schedule)
รายละเอียดวงจรแผงจ่าย (Panel Board Schedule) เป็นรายละเอียดที่กำหนดไว้ในตาราง ประกอบไปด้วยจำนวนของวงจรย่อยที่ติดตั้งในแผงจ่ายนั้น ขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้ ลักษณะการใช้งานของแต่ละวงจรย่อย รวมทั้งแสดง ไดอะแกรมภายในของตู้วงจรแผงจ่าย ดังแสดงในตารางข้างล่างนี้
1. การเดินสายไฟฟ้าใช้สายชนิด TW เดินในท่ออีเอ็มที หรือเดินในท่อพีวีซีก็ได้
2. การเดินท่อให้ซ่อนในผนัง กำแพง หรือในฝ้าเพดาน
3. ขนาดสายของวงจรย่อย (Branch Circuit) ให้ใช้สายขนาด 2.5 mm2 ชนิด TW ยกเว้น
สายสำหรับเครื่องปรับอากาศให้ใช้สายชนิด TW ขนาด 6 mm2
4. สายสำหรับเข้าดวงโคม ให้ใช้สายชนิด TW ขนาด 1.5 mm2
5. สายสำหรับเข้าเต้ารับ ให้ใช้สายชนิด TW ขนาด 2.5 mm2 6. สายเมน ให้ใช้สายชนิด THW ขนาด 16 mm2
ตารางที่ 2.1แสดงรายละเอียดของวงจรแผงจ่ายในรูปของตาราง

สรุป
ผู้เรียนควรเข้าใจ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างวงจรเต้ารับ และวงจรแสงสว่าง ได้ การอ่านแบบไฟฟ้าที่สำคัญคือ เข้าใจ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ไดอะแกรมการ เดินสาย ไดอะแกรมเส้นเดียว และรายละเอียดของวงจรแผงจ่ายได้เป็นอย่างดี ช่างไฟฟ้า จะต้องสามารถ ถอดรายการวัสดุที่ถูกออกมาจากแบบไฟฟ้าได้ การกำหนดขนาด และพิกัด ของอุปกรณ์ต่างๆ จะต้องใช้ความรู้จากวิชาการออกแบบไฟฟ้าประกอบด้วย