top of page

บทที่ 2 การเขียนแบบงานโครงสร้าง
                                          และแปลนพื้น งานอาคาร

จุดประสงค์
 

1. รู้ความหมายของแบบขยายส่วนประกอบอาคารอย่างง่าย

2. รู้สัญลักษณ์ และมาตราส่วนของส่วนประกอบอาคารอย่างง่าย

3. เข้าใจส่วนประกอบอาคารอย่างง่าย 8.4.1อธิบายการต่อเสาไม้

4. ปฏิบัติการเขียนแบบขยายส่วนประกอบอาคารอย่างง่าย

          แบบแปลนเป็นรูปวาดที่แสดงวัตถุจากมุมมองด้านบน ในแบบแปลนจึงไม่มีข้อมูลความสูงในแนวดิ่ง

แต่จะแสดงเพียงขนาดต่างๆในแนวราบ โดยวาดตามสเกลที่ระบุ  ตัวอย่าง

สกรีนช็อต 2022-09-21 233402.png

ผังบริเวณ (Site Plan)
 

         คือแผนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งและทิศทางของอาคารจะทำการก่อสร้างในเขตพื้นที่ โครงการ โดยจะแสดงขอบเขตพื้นที่ของโครงการและบริเวณข้างเคียงซึ่งปกติจะเป็นเส้นหนาซึ่งมีหนึ่ง จุดหรือสองจุดระหว่างเส้นที่ยาวกว่า เพื่อให้ทำการก่อสร้างได้ตรงกับตำแหน่งและทิศทาง มีหลักมุด อ้างอิงเพื่อความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่ง และบางครั้งมีเส้นชั้นความสูงพื้นที่เพื่อจะช่วยในการ ประมาณราคาและวางแผนการก่อสร้าง 

ตัวอย่าง

185167494_116253217276674_4481547089588614592_n.jpg

แปลนพื้น (Floor Plan)
 

          แปลนพื้นคือภาพตัดในแนวราบของอาคาร โดยจะแสดงรายระเอียดเกี่ยวกับรูปร่าง, ขนาด, พื้นที่ใช้ สอย, โครงสร้าง, การก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง โดยแสดงออกมาในลักษณะของสัญลักษณ์, เส้น, ตัวเลข, ตัวอักษรประกอบกันเพื่อสื่อความหมาย แปลนพื้นจะมีทั้งแบบสถาปัตยกรรม และแบบโครงสร้าง โดยก่อนที่จะเริ่มการเขียนแบบผัง พื้นงานโครงสร้างจะต้องอ่านแบบสถาปัตยกรรม เพื่อทำความเข้าใจในขนาดรูปร่าง ความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ และจินตนาการตามลักษณะของแบบ

สกรีนช็อต 2022-09-21 234707.png

แบบแปลนสถาปัตยกรรมและแบบแปลนโครงสร้าง

สกรีนช็อต 2022-09-21 235107.png

ตัวอย่างแบบแปลนสถาปัตยกรรม

สกรีนช็อต 2022-09-21 235426.png

ตัวอย่างแบบแปลนโครงสร้าง

การอ่านแบบแปลนสถาปัตยกรรม

          การอ่านแบบควรเริ่มอ่านตามลำดับขั้นตอน โดยเริ่มจากแบบผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งและทิศทาง ตลอดจนระดับความสูงของอาคาร (site plan) ถ้าต้องการรู้เกี่ยวกับที่ดินปลูกสร้างก็อ่านจากแบบผัง บริเวณ (lay out) ถ้าต้องการรู้เกี่ยวกับลักษณะภายในห้องต่างๆเช่น การใช้งาน ชนิดของพื้น และ ผนัง ระดับความสูงต่ำของพื้น ก็จะอ่านได้จากแปลนพื้นอาคาร

 

            แบบแปลนสถาปัตยกรรมเป็นภาพของอาคารในจินตนาการที่ออกแบบโดยสถาปนิกตามความ ต้องการของเจ้าของอาคาร ส่วนแบบแปลนโครงสร้างคือภาพของอาคารที่ออกแบบโดยวิศวกร โครงสร้างเพื่อใช้ในการก่อสร้างเป็นอาคารจริงขึ้นมา ดังนั้นแบบทั้งสองชนิดจึงมีความสัมพันธ์กัน อย่างมาก และจะต้องไม่มีความขัดแย้งกันเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการก่อสร้าง ปัญหาความ ขัดแย้งหลังการก่อสร้างเสร็จ

 

             โดยทั่วไปแล้วแบบสถาปัตย์ควรจะ “นิ่ง” นั่นคือแล้วเสร็จสมบูรณ์โดยไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงเสียก่อน จะค่อยมาท าแบบโครงสร้าง แต่ก็อาจมีบางโครงการเป็นแบบ Design & Build นั่นคือออกแบบไปสร้างไป และมีการแก้ไขแบบอยู่ตลอดแม้ว่าการก่อสร้างจะเริ่มต้นแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายอันจะส่งผลให้เกิดความ เสียหายต่อโครงสร้างได้

 

การระบุชั้นในอาคาร

           แต่ละชั้น (Floor) ในอาคารจะประกอบด้วยพื้น คาน เสา ผนัง และเพดาน การกำหนดหมายเลขชั้น จะเรียงจากล่างขึ้นบน โดยให้ชั้นล่างสุดเป็นชั้นที่ 1 หรือชั้น G (Ground Floor) ในอาคารสูง บาง อาคารอาจไม่มีชั้นที่ 4 หรือ 13 ตามความเชื่อโชคลางก็จะนับข้ามไป

 

ผังบริเวณและผังที่ตั้ง

          แผนที่มีหลายชนิด เช่น แผนที่โลก แผนที่ประเทศ แผนที่จังหวัด แผนที่เมือง แผนที่หมู่บ้าน แผนที่ทางหลวง แผนที่ผังเมือง แผนที่ทางทหาร แผนที่ทางทะเล แผนที่ดวงดาว ฯลฯ แผนที่ดังกล่าวจะต้องแสดงมาตราส่วนกำกับ พร้อมเครื่องหมายทิศเหนือ ถ้านำแผนที่ดังกล่าวมาเขียนขยายใหญ่ขึ้นเฉพาะกรณีพื้นที่ ความละเอียดชัดเจนก็จะมากขึ้นตามลำดับ เช่น ผังบริเวณและผังที่ตั้ง
 

ความหมายของผังบริเวณและผังที่ตั้ง

       1. ผังบริเวณ ( Layout Plan ) หมายถึงภาพ 2 มิติ ที่แสดงรายละเอียดในทางราบเกี่ยวกับตำแหน่งอาคารลงบนพื้นที่ก่อสร้าง บนแผนที่ในโฉนดที่ดินที่เขียนขยาย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับระยะห่างจากแนวเขตถนน แนวเขตข้างเคียงโดยรอบ เครื่องหมายทิศเหนือ ตำแหน่งของบ่อบำบัดน้ำเสีย ทางเข้าออก การระบายน้ำทิ้ง บ่อพัก บ่อดักไขมัน และอื่นๆ ที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนด

       2. ผังที่ตั้ง ( Site Plan ) หรือแผนที่สังเขป หมายถึงภาพ 2 มิติ ที่แสดงรายละเอียดในทางราบเกี่ยวกับที่ตั้งของที่ดิน เพื่อแสดงให้ทราบว่าตั้งอยู่ที่ตำแหน่งใด ห่างจากถนนหลัก ถนนรองเท่าไหร่ และมีสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นอะไรบ้าง หรือตั้งอยู่ใกล้กับอะไรที่สังเกตุหรือมองเห็นได้ง่าย  มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ไม่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดตัวอาคารแต่อย่างใด ดังนั้นการเขียนแผนที่ตั้ง จึงไม่ต้องมีมาตราส่วนกำกับ ให้เขียนระยะตัวเลขโดยประมาณขนาดของรูปแบบตามความเหมาะสม

 

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผังบริเวณและผังที่ตั้ง

          เนื่องจากการเขียนผังบริเวณและผังที่ตั้ง จะจัดไว้แผ่นหน้าสุดของรูปเล่มแบบ ต่อจากรายการประกอบแบบ รายละเอียดที่สำคัญต่างๆ จะแสดงที่ผังบริเวณ สาเหตุเพราะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยตรง ส่วนผังที่ตั้งแสดงเฉพาะตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง จึงไม่มีข้อกำหนดใดมาเกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 มีดังนี้

 

        1. มาตราส่วนที่ใช้เขียนผังบริเวณต้องไม่เล็กกว่ามาตราส่วน 1 : 500

        2. กรณีโฉนดที่ดินมีผืนใหญ่มาก หรือใช้เอกสารโฉนดที่ดินหลายแผ่นมาเรียงต่อกันต้องแยกเขียนเป็น

            2 ตอน จัดอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันหรือแยกคนละแผ่นก็ได้  ดังนี้

           2.1 ตอนแรกให้แสดงเฉพาะแนวเขตของที่ดินรวมที่มีทั้งหมด แสดงหมุดเขตที่ดิน ความยาวแนวเขตที่ดิน                   แบบเต็มใบ ถนนสาธารณะ และ เครื่องหมายทิศเหนือ ให้ใช้มาตราส่วนใดก็ได้ที่เหมาะสมกับขนาด                       กระดาษเขียนแบบ แต่ไม่ต้องเขียนตัวอาคารลงไป

          2.2 ตอนที่สองให้เขียนแบบตัดตอนเอกสารโฉนดที่ดินเฉพาะที่อยู่ใกล้กับตัวอาคาร โดยใช้มาตราส่วนที่ไม่                   เล็กกว่ากฎหมายกำหนด คือ 1 : 500 แล้วจึงเขียนตำแหน่งตัวอาคาร แสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง                         เช่น หมายเลขบนหลักเขตที่ดิน ระยะถอยร่นห่างจากแนวเขต ข้างเคียงไม่น้อยกว่าที่กฎหมายควบคุม                     อาคารกำหนด ตำแหน่งบ่อส้วม การระบายน้ำทิ้ง และทางเข้าออกเป็นต้น

       3. ระยะถอยร่นอาคารห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง  ( ด้านข้างกับด้านหลัง ) มีดังนี้

            3.1 อาคารที่สูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียง ต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร จึงจะมี                      ช่องเปิดหน้าต่างได้ ถ้าระยะน้อยกว่านี้ผนังต้องปิดทึบตันห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50                                เซนติเมตร กรณีน้อยกว่านี้หรือสร้างชิดแนวเขตต้องได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดิน                          ข้างเคียง และห้ามมิให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารลุกล้ำแนวเขต ถ้ามีหลังคาเป็นดาดฟ้า ให้ทำผนัง                      ดาดฟ้าด้านชิดแนวเขตเป็นผนังทึบสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร กั้นตลอดแนว

           3.2  อาคารที่สูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียง ต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3                    เมตร จึงจะมีช่องเปิดหน้าต่างได้  กรณีสร้างชิดแนวเขตที่ดิน ( เหมือนข้อแรก ) จะก่อสร้างได้สูงไม่                        เกิน15 เมตร ถ้ามีหลังคาป็นดาดฟ้าให้ทำผนังดาดฟ้า ด้านชิดแนวเขตเป็นผนังทึบสูงไม่น้อยกว่า 1.80                    เมตร กั้นตลอดแนวเช่นกัน อนึ่ง การกำหนดความสูงอาคารให้วัดระยะจากพื้นดิน ก่อสร้างถึงยอดฝา                      หรือหลังคานหลังคาทรงจั่ว หรือปั้นหยา กรณีเป็นหลังคาดาดฟ้าให้วัดระยะถึงผิวพื้นดาดฟ้า

       4. ระยะถอยร่นอาคารห่างจากแนวเขตถนนสาธารณะ มีดังนี้

           4.1 อาคารทุกขนาดที่สร้างติดถนนสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ถอยร่นแนวอาคารห่างจาก “จุด                       กึ่งกลางถนน” อย่างน้อย 3 เมตร

           4.2 อาคารที่สูงเกิน 8 เมตร ที่สร้างติดถนนสาธารณะที่กว้างตั้งแต่ 6-10 เมตร ให้ถอยร่นแนวอาคารห่าง                       จาก“จุดกึ่งกลางถนน” อย่างน้อย 6 เมตร

           4.3 อาคารที่สูงเกิน 8 เมตร ที่สร้างติดถนนสาธารณะที่กว้างตั้งแต่ 10-20 เมตร ให้ถอยร่นแนวอาคารห่าง                     จาก “เขตถนนหรือแนวเขตที่ดินของตน”อย่างน้อย  1/10 ของความกว้างถนน

           4.4 อาคารที่สูงเกิน 8 เมตร ที่สร้างติดถนนสาธารณะที่กว้างเกิน 20 เมตร ให้ถอยร่นแนวอาคารห่าง                             จาก“เขตถนนหรือแนวเขตที่ดินของตน”อย่างน้อย 2 เมตร

           4.5 ความสูงอาคารต้องไม่เกิน  2 เท่า ของระยะราบ ( Set back = 1 : 2 ) ที่วัดระยะจากจุดนั้นไปตั้งฉาก                        กับ แนวเขตด้านตรงกันข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารที่สุด

      5. ระยะถอยร่นอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะ มีดังนี้

          5.1  อาคารทุกชนิดที่สร้างติดเขตแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ห้วย และลำประโดง ที่กว้างน้อย                     กว่า 10 เมตร ให้ถอยร่นอาคารห่างจาก “แนวเขตที่ดิน”อย่างน้อย 3 เมตร  แต่ถ้าแหล่งน้ำกว้างตั้งแต่                     10 เมตร  ให้ถอยร่นอย่างน้อย 6 เมตร

          5.2  ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บึงขนาดใหญ่  ( กว้านพะเยาหรือบึงบอระเพ็ด ) ทะเลสาบ และทะเล ให้                       ถอยร่นอย่างน้อย 12 เมตร อนึ่ง มีข้อยกเว้นอาคารบางประเภท เช่น สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ                         ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ และที่ว่างสำหรับจอดรถไม่ต้องถอยร่น

 

        6. กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบเฉพาะในบางพื้นที่ ได้แก่ พระราชบัญญัติผังเมือง 2518 ในเรื่อง การถอยร่นเพื่อกันแนวอาคารในถนนสาธารณะบางสาย การกำหนดความสูงอาคารในบางพื้นที่ และการแบ่งเขต ( Zone ) ประเภทของอาคาร และประกาศของกระทรวงคมนาคม เรื่องกำหนดเขตปลอดภัยในการเดินอากาศบริเวณใกล้เคียงสนามบิน เป็นต้น

sd_5f78bb7418f3a.jpg

แปลนพื้น
 

           ในอดีตแผนที่เป็นแบบแผ่นแรกของมนุษย์ ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง ภูมิประเทศ ทิศเหนือ ถนน แม่น้ำ แหล่งน้ำ ภูเขา สิ่งก่อสร้างต่างๆ มีประโยชน์ต่อการเดินทาง และการค้นหาทรัพย์สมบัติ การเขียนแผนที่ในยุคแรกอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านใช้จินตนาการขึ้นเอง นับเป็นการฝึกเขียนภาพ 2 มิติ ที่มีลักษณะคล้ายการเขียนแปลนพื้นหรือผังพื้นในปัจจุบัน

ความหมายของแปลนพื้น


แปลนพื้นหรือผังพื้น ( Floor Plan ) หมายถึง รูปตัดในทางราบหรือทางนอนเป็นภาพ 2 มิติ ( กว้างกับยาว ) ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง การจัดแบบพื้นที่ใช้สอย เขียนออกมาในลักษณะของสัญลักษณ์เส้น คำย่อ ตัวเลข ตัวอักษร ระดับความสูง และมาตราส่วนประกอบกัน เพื่อใช้สื่อความหมาย การเรียกชื่อแปลนพื้นจะกำหนดตามตำแหน่งของแปลนพื้นตั้งอยู่ เช่น บ้าน 2 ชั้น จะประกอบด้วย แปลนพื้นชั้นล่างกับแปลนพื้นชั้นบนเป็นต้น

 

สัญลักษณ์ในแปลนพื้น

 

           แปลนพื้น เป็นแบบที่แสดงจำนวนสัญลักษณ์ที่มีมากที่สุด ได้แก่ เสา ผนัง ประตู หน้าต่าง บันได ทิศเหนือ การบอกขนาดมิติกว้างยาว ระดับความสูง ชื่อห้อง วัสดุปูพื้น แนวเส้นตัด รายการประกอบแบบ และรหัสรูปด้าน เป็นต้น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนแปลนพื้น

           1. การเขียนบอกชื่อห้อง ระดับความสูง และหมายเลขพื้น ให้เขียนประมาณจุดศูนย์กลางห้องที่ต้องการ

               โดยเขียนได้ 2 ลักษณะ คือ แบบเปิดและแบบปิด ให้เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งตลอดโครงการ

           2. ถ้าพื้นห้องเล็กแคบ ไม่สามารถเขียนบอกชื่อห้องลงไปได้ ให้เขียนไว้นอกแบบแล้งโยงเส้นลูกศรชี้บอกชื่อ                     ห้อง

           3. การเขียนแปลนพื้นที่มีหลายชั้น ให้เขียนแสดงเฉพาะในส่วนของแปลนพื้นชั้นนั้น ไม่ต้องเขียนส่วนของแปลน                 ที่อยู่ชั้นล่าง ถึงแม้ตามความเป็นจริงจะมองเห็นก็ตาม เพราะจะทำให้การอ่านแบบยุ่งยากสับสน แยกไม่ออก                   ว่าอยู่ชั้นไหน เช่น เขียนแปลนพื้นชั้นบน ต้องไม่เขียนถนนหรือลานซักล้างหรือระเบียงที่อยู่ในแปลนชั้นล่าง                   เป็นต้น

           4. การเขียนแปลนพื้นที่เป็นชั้นลอย ต้องเขียนให้ครอบคลุมชั้นล่าง แต่ไม่ต้องเขียนรายละเอียดใดๆลงไปอีก

               สาเหตุเพราะเขียนแสดงในแปลนพื้นชั้นล่างแล้ว แต่ให้เขียนเส้นทแยงมุมลงไปแทนแล้วเขียนคำว่า “ช่อง                     โล่ง”ทับจุดตัดเส้นทแยงมุม

           5. ไม่ต้องเขียนบอกแสดงจำนวนเลขขั้นบันไดในแปลนพื้น เพราะต้องเขียนแบบขยายบันไดอยู่แล้ว ให้เขียน                     บอกแต่สัญลักษณ์ หมายเลขบันได เช่น บ1 และ บ2

           6. การเขียนแสดงทิศทางขึ้นลงบันไดบ้าน 2 ชั้น ในแปลนพื้นชั้นล่างให้เขียนเพียงบางส่วนและเขียนเส้น                           ตัดตอนแนวเฉียงปิด พร้อมเส้นลูกศรข้อความ “ขึ้น” ไว้ที่หางลูกศร ส่วนแปลนพื้นชั้นบนให้เขียนแปลน                         บันไดมองเห็นเต็มรูปแบบ พร้อมเส้นลูกศรข้อความ “ลง” ไว้ที่หางลูกศร

           7. การเขียนประตู หน้าต่างที่เป็นบานเปิดธรรมดาแสดงทิศทางการเปิดปิด เป็นเส้นโค้งหรือเส้นเฉียง 45 องศา                   ให้เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง แบบเดียวกันตลอดโครงการ

           8. พื้นที่ส่วนที่เป็นช่องโล่งทะลุ เช่น ช่องท่อ ( Duct ) และช่องลิฟต์ เขียนเป็นเส้นทแยงมุมลงไปแล้วเขียนคำว่า               “ช่องโล่ง” ทับจุดตัดเส้นทแยงมุม

          9. ระดับของพื้นห้องน้ำ พื้นระเบียง พื้นเฉลียง และลานซักล้าง จะต้องอยู่ต่ำกว่าระดับของพื้นห้องทั่วไปในชั้น                    เดียวกันประมาณ 10 เซนติเมตร สาเหตุเพราะไม่ต้องการให้น้ำใช้และน้ำฝนที่พื้นห้องดังกล่าวกระเซ็นไหล                    เข้าสู่ห้องภายในบ้าน ดังนั้นการเขียนแสดงระดับที่แตกต่างกันจะต้องมีเส้นแบ่งระดับ 1 เส้น ที่ประตูห้อง ถ้า                  ไม่มีแสดงว่ามีระดับที่เสมอกัน

        10. การจัดวางรูปแบบแปลนพื้นลงบนกระดาษเขียนแบบ ให้เอาทางเข้าหลักหรือประตูใหญ่หันลงด้านล่าง                          กระดาษเขียนแบบ ให้ดูประหนึ่งเหมือนเรากำลังเดินตรงเข้าสู่ตัวอาคาร รวมทั้งการเขียนแบบขยายแปลน                      ห้องน้ำ และแบบขยายแปลนบันได ก็ให้จัดวางในลักษณะเดียวกัน

sd_5f78bb7418f3a.jpg

รูปด้าน
 

         รูปภาพที่คนทั่วไปทำความเข้าใจและอ่านออกได้ง่ายที่สุด อีกทั้งบุคคลที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในวิชาเขียนแบบมาก่อน และเป็นภาพที่เกือบทุกคนสามารถจะร่างภาพออกมาเป็นลักษณะของภาพลายเส้นด้วยตนเองอย่างคร่าวๆ เนื่องจากเป็นภาพที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจนเคยชินต่อสายตา ภาพดังกล่าวจัดเป็นรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ ประเภทหนึ่งสิ่งนั้น คือ รูปด้าน

ความหมายของรูปด้าน

          รูปด้าน ( Elevation ) หมายถึง รูปที่ปรากฏในแนวดิ่งของอาคารแสดงรูปร่างรายละเอียดภายนอกโดยรอบ

เป็นการมองในลักษณะขนานกับพื้นดินทีละด้านจนครบ 4 ด้าน ประกอบการใช้สัญลักษณ์ เส้น ตัวย่อ ตัวอักษร ตัวเลข และมาตราส่วนรวมกันเพื่อใช้สื่อความหมาย รูปด้านมีลักษณะคล้ายรูปตัด

การกำหนดชื่อหรือการเรียกชื่อรูปด้าน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

         1. กำหนดชื่อตามลักษณะของการมองเห็นภาพจากแปลนพื้น ให้ครบ 4 ด้าน เช่น รูปด้านหน้า รูปด้านซ้าย รูป                 ด้านขวาและรูปด้านหลัง เป็นต้น เหมาะสำหรับแปลนพื้นโดยรวมเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มี                   ประตูทางเข้าหลักอยู่ด้านอาคาร

        2. กำหนดชื่อตามทิศสี่ทิศ เป็นทิศที่รูปด้านนั้นหันไปทางทิศดังกล่าว จนครบ 4 ด้าน เช่น รูปด้านทิศเหนือ รูป                  ด้านทิศใต้ รูปด้านทิศตะวันออก และรูปด้านทิศตะวันตก เป็นต้น เหมาะสำหรับ กรณีรูปแปลนพื้นรูปทรง                      สี่เหลี่ยม วางในแนวขนานหรือวางตั้งฉาก กับเครื่องหมายทิศเหนือในรูปแปลนอย่างชัดเจน

        3. กำหนดชื่อตามเครื่องหมายรหัส ( Code ) รหัสที่ใช้กำหนดเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรให้ครบ 4 ด้าน เช่น รูป                    ด้าน 1 รูปด้าน 2 รูปด้าน 3 และรูปด้าน 4 หรือ รูปด้าน ก รูปด้าน ข รูปด้าน ค และรูปด้าน ง เป็นต้น เหมาะ                      สำหรับกรณีรูปแปลนพื้น มีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยม รูปวงกลม รูปทรงอิสระ หรือรูปทรงใดๆ ให้เขียนแสดง              เครื่องหมายรหัสลงในแปลนพื้น โดยให้ตัวเลข 1 หรือตัวอักษรตัวแรกเป็นรูปด้านหน้า

bottom of page